อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้า DVD ภาพยนต์ SAVE-2000 ESR LIGHT SAVE
อุปกรณ์ OZONE SYSTEM Cooling Tower Laundry Water  Treatment Air Treatment
มอเตอร์และอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบ VSDมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง
หลอดไฟประหยัดพลังงาน LED T5 โคมไฟประสิทธิภาพสูง
CHILLER ประสิทธิภาพสูง CHILLER
อุปกรณ์ HEAT PUMP HEAT PUMP
 
    

ตู้โหลดเซ็นเตอร์




    โหลดเซ็นเตอร์ คืออะไร
โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) ส่วนใหญ่เป็นกล่องเหล็ก ลักษณะการทำงานคล้ายกับ Consumer Unit แตกต่างกันที่มีหลายแถว และใช้กับพื้นที่มากกว่า 1 พื้นที่ขึ้นไป เหมาะสำหรับควบคุมระบบไฟฟ้าในอาคารขนาดกลางและใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไฟ 3 เฟส 4 สาย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

      1. Main Lugs จะมี lug ต่อสายซึ่งใช้ต่อกับสายเมนทั้ง 3 เฟส และ terminal สำหรับต่อสายนิวทรัล โดยไม่มีตัวควบคุมหลักหรือเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์(Main Circuit Breaker) การจ่ายกระแสของโหลดเซ็นเตอร์ ชนิดนี้ จะจ่ายผ่าน บัสบาร์ (busbar) ไปยังเซอร์กิตเบรกเกอร์วงจรย่อย (Branch Circuit Breaker) ซึ่งมีทั้งแบบ 1 ขั้ว และแบบ 3 ขั้ว  ซึ่งจะมีจำนวนวงจรย่อย มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการทนกระแสของบัสบาร์ เช่น 100A , 225A เป็นต้น การเลือกใช้งานให้พิจารณาจากจำนวนวงจรย่อย ที่ต้องการ ได้แก่ 12,18,24, 30,36 และ 42 วงจรย่อย (1 วงจรย่อย สามารถ ใส่เบรกเกอร์ย่อยชนิด 1 ขั้ว ได้ 1 ตัว) โดยกระแสใช้งาน ทั้งหมดไม่ควรเกิน 80% ของพิกัด โหลดเซ็นเตอร์ เช่น เลือกพิกัดบัสบาร์ 100 A กระแสใช้งาน โดยรวมไม่  ควรเกิน 80 A แต่เนื่องจากโหลดเซ็นเตอร์ชนิดนี้ไม่มีตัวควบคุมหลัก การใช้งานจึงมักใช้ควบคู่กับ safety switch หรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์ควบคุม หลักอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ

       2. Main Circuit breaker คล้ายกับแบบ Main lugs แต่จะมีเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน (Main Circuit Breaker) แบบ 3 ขั้ว ชนิด MCCB (Molded Case Circuit Breaker) ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหลักในการจ่ายกระแสผ่านบัสบาร์ ไปยัง MCB (miniature circuit breaker) โดยพิกัดการทนกระแสสูงสุด ของ เซอร์กิตเบรกเกอร์เมน ต้องไม่เกินพิกัดการทนกระแสของ busbar เช่น รุ่นที่มีพิกัด busbar 100A สามารถเลือกเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ (ได้ตั้งแต่ 15, 20, 30,40,50,60,70,80,90 และ 100A เป็นต้น การเลือกใช้งานนอกจากจะพิจารณาจำนวนวงจรย่อย ซึ่งเหมือนกับ แบบ Main lugs แล้ว ต้องเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์เมนให้เหมาะสมด้วย

     ภายในโหลดเซ็นเตอร์จะประกอบด้วยแท่งตัวนำ หรือบัสบาร์ (Busbar) เรียงจากซ้ายไปขวาคือเฟส A, B, C ตามลำดับ และมีการเรียง ลำดับวงจรจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง การเลือกโหลดเซ็นเตอร์มาใช้งานนั้นจะมีวงจรย่อยได้ไม่เกิน 42 วงจรย่อย และควรจัดให้มีการจ่ายโหลดประเภทต่างๆ แยกกันเช่น วงจรย่อยแสงสว่าง, วงจรย่อยเต้ารับ, วงจรย่อยเครื่องใช้ไฟฟ้า วงจรย่อยเฉพาะเป็นต้น สำหรับวงจรย่อยแสงสว่างและเต้ารับ ทั่วไป โหลดในวงจรย่อยนั้นไม่ควรเกิน 60% ซึ่งถือเป็นการ เผื่อโหลดในอนาคต แต่รวมแล้วไม่เกิน 80% ของพิกัดวงจรย่อย กรณีที่เป็นโหลดเซ็นเตอร์ 3 เฟส การจัดวงจรย่อยให้สมดุล จะช่วยให้การใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรต่อโหลด เรียงกันดังนี้คือ ต่อเข้าที่วงจรหมายเลข 1 , 3 , 5 ตามด้วย 2 , 4 , 6 และ 7 , 9 , 11 ไปเรื่อยๆ โดยแต่ละวงจรพยายามแบ่งโหลด ให้มีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน

 


 

  

บริษัท เครสโก้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด  
1/64 หมู่ที่ 4 ตําบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000

โทรศัทพ์ : 02-2966-5099 (Auto),  02-966-7017-19

มือถือ : 098-9496691, 083-995-5332

http://www.crescocorp.com/     E-mail : [email protected]    Facebook : Cresco อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน-เพจบริษัท
 
Copyright © 2009. Cresco Corporation All Rights reserved.

Stats T-89 M-2194 Y-6361 A-463092

ADD LINE creco 2018